เล่นเกมยังไง ไม่ให้เกมเล่นเรา
ธุรกิจเกมใหญ่มาก และเติบโตสวนกระแสมาโดยตลอด ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ยิ่งเติบโตไปกันใหญ่ เพราะผู้คนต้องเว้นระยะห่างและกักตัวอยู่บ้าน
อีกทั้งเกมในปัจจุบันก็ถูกพัฒนาให้สนุก เร้าใจ น่าติดตาม และเข้าถึงได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา ไม่แปลกใจที่คนจะติดเกมกันงอมแงม วันนี้จะขอพาเพื่อนๆมาดูข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการเล่นเกมยังไง ไมให้เกมเล่นเรากันค่ะเกมเป็นกิจกรรมเสริมความสนุกในช่วงเวลาว่างที่ได้รับความนิยมสูง เพราะหากเล่นอย่างพอดีก็ทำให้ผู้เล่นได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ฝึกการวางแผน การตัดสินใจ และคลายเครียดได้ ระยะหลังยังสามารถนำมาต่อยอดเป็นอาชีพสร้างรายได้ได้อีกหลายประเทศยกธุรกิจเกมเป็น “ฟันเฟือง” ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ไม่เพียงมิติของการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิด “อาชีพใหม่” ขึ้นมากมาย เช่น นักเล่นเกม นักกีฬา โค้ช นักพากย์เกม สตรีมเมอร์ ไปจนถึงอาชีพเบื้องหลังอย่าง ผู้พัฒนาแกม ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ผู้จัดกิจกรรมและการแข่งขัน เป็นต้น
แน่นอนว่าการเล่นเกมนานๆ อาจส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิต ทำให้เสียสุขภาพ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทานอาหารไม่ตรงเวลา เสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ปวดหลัง ร่างกายอ่อนเพลีย เสียเวลาในการทำอย่างอื่น หรือให้เวลาและให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นรอบตัวลดลง รายที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรือที่เรียกว่าภาวะติดเกม อาจก่อให้เกิดปัญหาทางจิตใจและสังคม เช่น ไม่มีสมาธิ ไม่มีเหตุผล เก็บตัว เข้าสังคมไม่เป็น หรืออาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบความรุนแรง เป็นต้น
1.กำหนดเวลาการเล่นให้เหมาะสม โดยในแต่ละครั้งไม่ควรเล่นนานจนเกินไป เช่น ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อครั้งแล้วปิด เพื่อยืดเส้นยืดสาย หรือทำอย่างอื่น ไม่เกิดความเคยชินกับการเล่นเกมมาราธอน
2.ควรให้ความสำคัญกับคนรอบข้างหรือสิ่งรอบตัวมากกว่าเกม
3.หางานอดิเรกทำ หรือหันไปสนใจสื่อบันเทิงอื่นๆ บ้าง เช่น อ่านการ์ตูน ปลูกต้นไม้ ฟังเพลง เล่นกีฬา ออกกำลังกาย เป็นต้น