สัญญาณ “อาหารเป็นพิษ” รุนแรงอันตรายถึงชีวิต พบ1ข้อควรพบแพทย์
สัญญาณ “อาหารเป็นพิษ” รุนแรงอันตรายถึงชีวิต พบ1ข้อควรพบแพทย์
อาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตหน้าร้อน ภาวะที่หลายคนมองข้าม แต่อัตรายได้ถึงชีวิตเนื่องจากมีการติดเชื้อและเกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช็กสัญญาณอาหารเป็นพิษรุนแรงพบ 1ข้อควรพบแพทย์
ภาวะอาหารเป็นพิษ หรือ food poisoning โรคที่มักมาพร้อมกับหน้าร้อน เพราะอากาศร้อนเหมาะกับการเติบโตของแบคทีเรียในอาหาร ทั้งนี้มีรายงานจากต่างประเทศและการศึกษาในประเทศไทย เชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา พบปะปนในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หลายชนิด รวมทั้งไข่เป็ดไข่ไก่ ส่วนเชื้อแบคทีเรียแคมไพโรแบคเตอร์ มักพบในเนื้อไก่ที่ใช้บริโภค
อาการของอาหารเป็นพิษ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการไม่รุนแรงและไม่นานหายได้เองภายใน2-3 วัน อาการสำคัญ คือ
- มีไข้ ปวดท้อง เนื่องจากเชื้อโรคทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้
- อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว คลื่นไส้ อาเจียน
- อุจจาระร่วง ซึ่ง ถ้าถ่ายมากจะเกิดอาการขาดน้ำและเกลือแร่ได้
- บางรายอาจมีอาการรุนแรง เนื่องจากมีการติดเชื้อและเกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ข้อและกระดูก ถุงน้ำดี กล้ามเนื้อหัวใจ ปอด ไต เยื่อหุ้มสมอง และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสโลหิตจะทำให้เกิดโลหิตเป็
- พิษ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ โรคเบาหวาน หรือโรคเอดส์ ที่อาจรุนแรงถึงชีวิตได้
สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการ 1-2 ข้อ ให้สงสัยว่าเป็นโรคอาหารเป็นพิษชนิดรุนแรง
- อาเจียนรุนแรง หรือถ่ายมากผิดปกติ (มากกว่า 8-10 ครั้งต่อวัน)
- มีไข้ ซึม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น
- ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง
- หากเป็นเด็กเล็ก อาจมีอาการปากแห้ง ตาโหล ร้องให้แบบไม่มีน้ำตา
อาหารเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ
- อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ หรือผ่านความร้อนไม่เพียงพอ
- จากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และไข่เป็ด ไข่ไก่รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
- นอกจากนี้อาจพบในอาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านานๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นไว้ ถ้าไม่ได้อุ่นให้ร้อนพอด้วย
- อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสมแล้วปรุงทิ้งไว้นานหลายชั่วโมง
- อาหารที่มีรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือเค็มจัด
- อาหารที่ผลิตหรือปรุงไม่สะอาดเพียงพอ เช่น ใช้เขียงหั่นเนื้อสัตว์สดกับผักลวกร่วมกันแมลงวันตอม
- น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน
วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการอาหารเป็นพิษ
- ปกติสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยให้รักษาตามอาการคือ รับประทานเกลือแร่ทดแทนและยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน
- งดรับประทานอาหารประเภทนม ผลไม้ อาหารรสจัด อาหรสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารหมักดอง
- พักผ่อนให้มากขึ้น ดื่มน้ำมาก ๆ งดการทำกิจกรรมหนัก ๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้านหนัก ๆ
- ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์
- ทั้งนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวข้างต้น สามารถแพร่เชื้อได้ทางอุจจาระ การล้างมือหลังทำธุระตามสุขอนามัยที่ถูกต้องกินร้อนช้อนกลางล้างมือนับเป็นทางออกป้องกันโรคดังกล่าวได้โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็
- หรือผู้สูงอายุ เพราะอาหารเป็นพิษบางคนอาจไม่ใช่แค่เรื่องเล็กแต่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้